ศาสตราจารย์ ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

หยก ปมที่สังคมถกเยอะ ศ.ดร.ธเนศ ชวนยกระดับความรู้

ศาสตราจารย์ ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ อดีตคณบดีคณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ได้ทางเผยแพร่ข้อเขียนผ่านเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยได้กล่าวถึงกรณีของ นางสาวธนลภย์ หรือ ‘หยก’ ความดังนี้

อนุสนธิเรื่องความเห็นต่างในกรณี นางสาวธนลภย์ หรือ ‘หยก’ นักเรียนชั้นมัธยมในโรงเรียนรัฐแห่งหนึ่ง ผมเจอบทความที่บรรยายถึงทฤษฎีโพสต์โมเดิร์นในสังคมสมัยใหม่ ซึ่งบทนี้ได้วิเคราะห์เรื่องครอบครัวกับการดูแลโดยรัฐและราชการ ทำไมรัฐถึงสนใจดูแลคนในครอบครัวโดยเฉพาะเด็กๆมากนัก คำตอบทั่วไปคือเป็นหน้าที่ เพื่อสอนให้เยาวชนสามารถอยู่ในสังคมร่วมกับคนอื่นๆได้

แต่นักทฤษฎีอย่างมิเชล ฟูโกต์กลับบอกว่าไม่ใช่ จริงๆแล้วรัฐต้องการทำให้คนใต้การปกครอง ต้องตระหนักรู้ตัวเองว่า ทำตัวอย่างไรจึงจะเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้ แล้วได้ผลตอบแทนทางบวก ประเด็นมีทั้งทางปรัชญา เศรษฐสาสตร์การเมือง วัฒนธรรม จริยธรรมศีลธรรม ผมเห็นว่าเมื่อมีการโต้เถียงกันในเรื่องหยกมาก น่าจะยกระดับความรับรู้ทางทฤษฎีด้วย จึงนำเอาบทวิเคราะห์นี้ และบทวิพากษ์การวิเคราะห์ มาให้ได้อ่านเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองกัน ดังต่อไปนี้ บทความละเอียดโปรดหาอ่านฉบับเต็มในอ้างอิงตอนท้าย

อ่าน “การสอดส่องดูแลเด็กกับครอบครัวจินตกรรมฯ” จากมุมมองด้าน Govermentality ของฟูโกต์ โดยพิพัฒน์ พสุธารชาติ

หลายคนคงทราบกันดีว่าแนวคิดเรื่อง Governmentality หรือที่ผมแปลเป็นไทยว่า “การปกครองจินตทัศน์” นั้น เป็นหนึ่งในแนวคิดอันลือลั่นของ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) นักทฤษฎีคนสำคัญแห่งยุคโดยฟูโกต์ ซึ่งได้เคยอธิบายแนวคิดดังกล่าวว่าคือแบบแผนทางการเมืองของรัฐสมัยใหม่ ซึ่งหัวใจสำคัญจะมิได้อยู่ที่การมุ่งส่งเสริมความเข้มแข็งและตอบสนองผลประโยชน์ให้กับองค์อธิปัตย์(ดังความเข้าใจที่มักถือกันในทางรัฐศาสตร) แต่ จะอยู่ที่การสร้างตัวตนให้ผู้ถูกปกครองตระหนักและเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่ตนเองต้องยอมสยบเชื่อฟังและอยู่ภายใต้การชี้นำของผู้ปกครองโดยดุษฎี

ซึ่งหนึ่งในหัวใจสำคัญสำหรับการสร้างตัวตนให้ผู้ถูกปกครองยอมสยบภายใต้คำสั่งของผู้ปกครอง—จาก ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของการสร้างความเป็นสมัยใหม่ในยุโรป—นั้นก็คือการเปลี่ยนแปลงพันธะหน้าที่ของ สถาบันครอบครัวจากเดิม ที่จะเป็นปริมณฑลส่วนตัวของผู้ถูกปกครอง ซึ่งผู้ปกครองไม่สามารถเข้าไปก้าวก่าย หรือบงการได้ ก็จะกลายเป็นหน่วยงานทางการปกครองที่ผู้ปกครองสามารถใช้เป็นช่องทางกำกับแบบแผนการใช้ชีวิต ของผู้ถูกปกครอง โดยอาศัยข้ออ้างเรื่องการแก้ปัญหาปากท้อง (หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่าปัญหาเศรษฐกิจ) ให้กับประชากร

หยก

การสถาปนา “เด็ก” ในฐานะวัตถุมีชีวิตที่พ่อแม่ไม่สามารถทำความเข้าใจได้นั้น นับว่าเป็นหัวใจสำคัญอย่างแท้จริงในการสร้างตัวตนให้ประชากรไทยได้สำนึกถึงความจำเป็นที่จะต้องได้รับการปกครองจากรัฐเพราะการที่เด็ก กลายเป็นวัตถุบางอย่างที่พ่อแม่ไม่อาจเข้าใจได้นั้น ย่อมทำให้เด็กกลายเป็นปัญหาหรือปริศนาที่มีเพียงรัฐเท่านั้นที่จช่วยให้พ่อแม่สามารถคลี่คลายได้ไม่ว่าจะผ่านความรู้ถึงวิธีการเลี้ยงเด็ก(เช่นคู่มือต่างๆ) หรือช่องทางสำหรับเปลี่ยน ตัวตนของเด็กให้กลายเป็นผู้ใหญ่โดยการผ่านการศึกษาภาคบังคับ

ด้วยเหตุนั้นพร้อมๆไปกับการสถาปนาสถาบันครอบครัว สิ่งที่ตามมาในฐานะกลไกของการสร้างตัวตนความเป็นผู้ถูกปกครองให้กับประชากรในรัฐไทยนั้นจึงเป็นอย่างอื่นไป ม่ได้นอกจากโรงเรียนและความรู้ที่รัฐสามารถควบคุมได้อย่างเต็มที่ผ่านการออกแบบหลักสูตรสำหรับการศึกษา ภาคบังคับ ผลที่ได้ก็คือเด็ก—ทั้งที่กำลังศึกษาหรือจบการศึกษาภาคบังคับ—ได้กลายเป็นตัวตนแห่งรัฐผ่านความรู้หรือ Educationally Institutionalized Subject ที่ความรู้จากการศึกษาซึ่งตนรับมานั้น ได้เปลี่ยนให้ตนเองกลายเป็นตัวตนที่พร้อมรับการปกครองจากรัฐ

ทั้งยังเป็นพาหะในการส่งต่อ “ความรู้” ดังกล่าวกลับไปหาพ่อแม่ในครอบครัวอีกด้วย “เด็ก”จึงมิได้เพียงแต่เป็นตัวตนที่แปลกแยกจากความเข้าใจของพ่อแม่หากแต่ยังเป็น “พาหะทางการปกครอง” ที่ส่ง ต่อความรู้เพื่อเปลี่ยนตัวตนของพ่อแม่ให้กลายเป็นประชากรที่ยอมรับการถูกปกครองของรัฐไปด้วยการกำกับและ สร้างสำนึกถึงการเป็นผู้ถูกปกครองให้กับประชากรไทยจึงมิใช่ความสัมพันธ์ชนิดที่รัฐส่งต่อคำสั่งผ่านพ่อแม่เพื่อ ควบคุมเด็กหรือที่เรียกกันว่า “ผู้ใหญ่สั่งเด็ก” แต่กลับเป็นความสัมพันธ์ที่เด็กกลายเป็นเจ้าหน้าที่รัฐและเป็นผู้ส่งต่อคำสั่งของรัฐ (ในรูปของความรู้) ไปสู่ตัวผู้ใหญ่ดังที่อาจเรียกได้ว่า “เด็กสั่งผู้ใหญ่” ต่างหาก”

เป็นการวิจารณ์ บทความ “Policing the Imagined Family and Children in Thailand: From Family Name to Emotional Love” ของ ธเนศ วงศ์ยานนาวา ที่พิมพ์ในหนังสือ “Imagining Communities in Thailand: Ethnographic Approaches” ซึ่งมี Shigeharu Tanabe เป็นบรรณาธิการ

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ belukus.net

แทงบอล

Releated